No Pain No Gain - ไม่เจ็บก็ไม่โตซึ่งหมายความว่า หากไม่ฝึกจนถึงขั้นเจ็บปวดก็จะไม่สามารถกระตุ้นให้ กล้ามเนื้อเจริญเติบโตได้
ที่จริงแล้วกล้ามเนื้อของเราจะมีขีดจำกัดตามขนาดของพื้นที่ เมื่อเรา ใช้กำลังจากกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะกระตุ้นให้มีการสร้างกรดแลคติก มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดล้ากล้ามเนื้อ จนถึงขั้นที่ไม่สามารถฝึก ต่อไปได้ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่ากล้ามเนื้อกำลังจะหมดพลังงาน ดังนั้นหาก สามารถฝืนฝึกต่อไปก็เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานมากขึ้นเกินขีด ความสามารถ ซึ่งจะก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย
ที่จริงแล้วกล้ามเนื้อของเราจะมีขีดจำกัดตามขนาดของพื้นที่ เมื่อเรา ใช้กำลังจากกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะกระตุ้นให้มีการสร้างกรดแลคติก มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดล้ากล้ามเนื้อ จนถึงขั้นที่ไม่สามารถฝึก ต่อไปได้ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่ากล้ามเนื้อกำลังจะหมดพลังงาน ดังนั้นหาก สามารถฝืนฝึกต่อไปก็เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานมากขึ้นเกินขีด ความสามารถ ซึ่งจะก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย
ผลดี จากการฝึกจนถึงขั้นเลยขีดจำกัดของกล้ามเนื้อ จะกระตุ้นกล้ามเนื้อให้มีการพัฒนา ในด้านความทนทานและเพิ่มพลังงานโดยการเพิ่มพื้นที่เก็บพลังงานในกล้ามเนื้อ ซึ่งก็คือ การขยายขนาดของกล้ามเนื้อนั่นเอง
ผลเสีย จากการฝึกจนถึงขั้นเลยขีดจำกัดของกล้ามเนื้อ อาจเกิดได้จากการฝึกที่หนัก เกินไปจนถึงขั้นกล้ามเนื้อถูกทำลายซึ่งเราเรียกการฝึกแบบนี้ว่า Over training ซึ่งจะก่อให้เกิด ผลเสียต่อกล้ามเนื้อ ได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง เป็นหวัด กล้ามเนื้ออ่อนแอไม่ตึงตัว นอนไม่หลับ และหากยังฝึกต่อไปก็จะทำให้กล้ามเนื้อเติบโตได้ยากขึ้นหรือเรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อเกร็น
ซึ่งจำเป็นต้องหยุดพักอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะปรับลดการฝึกลง ซึ่งบางคนไม่สามารถทราบว่าตนฝึกหนักเกินไป เนื่องจากการที่เคยฝึกหนักจนชินและทำให้กล้ามเนื้อเกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็นมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นการสร้างกล้ามเนื้อจึงจำเป็นต้องทราบถึงการฝึกว่า การฝึก เบาเกินไปจะไม่สามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโตได้ การฝึกหนักเกินไปก็จะเป็นการทำลายกล้ามเนื้อมากกว่าการกระตุ้น การฝึกหนักแต่ไม่มากเกินไปจะเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อได้ดีที่สุด
ดังนั้นการสร้างกล้ามเนื้อจึงจำเป็นต้องทราบถึงการฝึกว่า การฝึก เบาเกินไปจะไม่สามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโตได้ การฝึกหนักเกินไปก็จะเป็นการทำลายกล้ามเนื้อมากกว่าการกระตุ้น การฝึกหนักแต่ไม่มากเกินไปจะเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อได้ดีที่สุด
โดยปกติการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ดีถูกแบ่งออกเป็นหลายวิธี เช่น การเพิ่มจำนวนครั้ง จำนวนเซ็ท หรือใช้เทคนิคต่างๆ ในการฝึก รวมทั้งการลดเวลาหยุดพักระหว่างเซ็ทลงด้วย ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการฝึกจนถึงขั้นเลยจุดหมดแรงเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นและจะฝึกเพียงท่าละ 3-6 เซ็ท และรวมเวลาไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งจะไม่ทำให้ฝึกหนักเกินไป
สำหรับผู้ที่เคยฝึกจนถึงขั้นอาการเจ็บปวดมาก สามารถใช้อาหารเสริม และลดการฝึกลงเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการซ่อมแซมตัวเองได้ดีมากยิ่งขึ้นก่อนที่จะทำการสร้างกล้ามเนื้อต่อๆ ไป อาหารเสริมกลุ่มดังกล่าวได้แก่
กลูโคซามีน (Glucosamine) สำหรับลดอาการปวดข้อ และข้ออักเสบ
บีซีเอเอ เป็นกรดอมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ช่วยรักษาปริมาณกล้ามไว้
เวย์โปรตีน ช่วยในการสร้างมัดกล้ามเนื้อให้มีปริมาณมากขึ้น เนื่องจากการกินอาหารประจำวัน ปริมาณโปรตีนไม่พอและน้อยเกินไป
ครีเอทีน โมโนไฮเดรต ช่วยเพิ่มพละกำลังงานให้กล้ามเนื้อและช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว
วิตามินรวมและแคลเซียม ช่วยในขบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและสร้างมูลกระดูก